วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ประวัติ เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ชุมแสง

  

ประวัติ เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ชุมแสง






               ตำนานเจ้าพ่อคลองจระเข้เผือก ยังเล่าขานสืบต่อไปว่า "เจ้าพ่อได้เกิดมีความรักกับเจ้าแม่เกยไชย (เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์) เจ้าพ่อประทับทรงให้ชาวบ้านชุมแสง ไปสู่ขอเจ้าแม่เกยไชย ให้ได้แต่งงานกับเจ้าแม่เกยไชย โดยเจ้าพ่อได้ยกขันหมากทางเรือไปสู่ขอและแต่งงานกับเจ้าแม่เกยไชย และเจ้าพ่อได้รับเจ้าแม่เกยไชยเป็นเจ้าแม่ชุมแสง และชาวบ้านก็อัญเชิญเจ้าแม่เกยไชยกลับมาประทับอยู่ที่ชุมแสงกับเจ้าพ่อ และได้แกะสลักไม้เป็นองค์เจ้าแม่ขึ้นมาใหม่ คู่กับองค์เจ้าพ่อ ศาลเจ้าพ่อคลองจระเข้เผือกจึงเปลี่ยนมาเรียกขานว่า "ศาลเจ้าพ่อ - เจ้าแม่ชุมแสง" มาจนถึงทุกวันนี้
               
ศาลเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ชุมแสง ได้มีการปรับปรุงใหม่หลายครั้งด้วยแรงศรัทธาของชาวตลาดชุมแสง ให้ศาลเป็นอาคารถาวรมีความสวยงามเป็นที่เชิดชูและเป็นศรีสง่าแก่ชาวชุมแสง ศาลเจ้าพ่อ - เจ้าแม่ชุมแสงจึงบ่งบอกความสมัครสมานสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจกันบูรณะศาลแห่งนี้อยู่ตลอดเวลา





             สำหรับอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาร นั้นที่ชาวชุมแสงประจักษ์ดีและเคารพเลื่อมใสนับถือมากๆเห็นจะเป็นเรื่อง ไฟไหม้...ครั้งหนึ่งที่ได้เกริ่นตั้งแต่แรกแล้วเรื่องความเฟื่องฟูทางการเดินเรือที่ชุมแสงจะมีแพที่เป็นปั๊มน้ำมันด้วยชื่อว่า"สุนทรภัณฑ์" คืนนั้นไฟได้เกิดไหม้แพปั๊มน้ำมันนั้นขณะที่ทุกคนตกใจและชลมุลวุ่นวายกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นมีคนเห็นว่ามี คนแก่ชาวจีนชาย-หญิงใส่ชุดขาว(เชื่อกันว่าเป็นเจ้าพ่อเจ้าแม่ชุมแสง)ช่วยกันผลักดันแพที่ไฟไหม้อยู่นั้นออกไปให้อยู่กลางแม่น้ำ และใช้มือจับไฟที่ไหม้จนไฟนั้นดับลง ทำให้คืนนั้นไฟไม่ลุกลามไหม้แพชาวบ้านอื่นๆ หลังจากไฟดับลงชาย-หญิงแก่ก็ได้หายไปอย่างที่ไม่มีใครรู้ว่าเป็นใครมาจากไหน ชาวบ้านจึงเชื่อกันว่าเป็นองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่ มาช่วยดับไฟให้ พอรุ่งขึ้นชาวบ้านจึงได้นำเครื่องเซ่นไหว้ไปถวายเจ้าพ่อเจ้าแม่อย่างมากมาย ยังเล่าอีกต่อว่า เจ้าแม่ชุมแสงนั้น เดิมทีเป็นเจ้าแม่ทางคนไทย เจ้าแม่เกยไชยก่อนจะมาแต่งงานอยู่กับเจ้าพ่อชุมแสงนั้นเป็นเจ้าแม่คนไทยมาก่อน ทุกๆวันชาวบ้านจะนำของเซ่นไหว้บ้าง หรือที่นำมาถวายแก้บนบ้าง ทุกๆวัน ทำให้เจ้าแม่นั้นไม่ค่อยชอบเรื่องการรับของเซ่นไหว้ แบบทางคนจีนเท่าไร แต่เจ้าแม่ชุมแสงก็ไม่ได้รับผลบุญจากการทำบุญเลย เจ้าแม่ชุมแสงจึงได้ประทับทรงบอกให้ชาวบ้าน และคณะกรรมการจัดงานเจ้าพ่อเจ้าแม่ชุมแสง ช่วยทำบุญอุทิศส่วนกุศลถวายให้เจ้าแม่ชุมแสงบ้าง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาทางคณะกรรมการจัดงานฯ จะร่วมกับชาวชุมแสง จัดงานทำบุญใหญ่ๆ ถวายให้เจ้าพ่อเจ้าแม่ชุมแสง 2 ครั้ง คือ ในวันเกิดเจ้าพ่อเจ้าแม่ ประมาณหลังตรุษจีน 15 วัน  และงานวันสงกรานต์ ประมาณวันที่ 14 เมษายน ของทุกปีโดยจะมีการนิมนต์พระสงฆ์มาทำบุญที่ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ชุมแสง และด้วยความสามัคคีพร้อมเพรียงกันของชาวชุมแสงเป็นสำคัญ จึงทำให้ชุมแสงยังคงเป็นตลาดเก่าแก่ของภาคเหนือมาจนถึงทุกวันนี้




       ในแต่ละปีชาวชุมแสงจะจัดงานสมโภชเจ้าพ่อ - เจ้าแม่ชุมแสง เป็นการจัดงานประจำปีที่ใหญ่ยิ่งของชาวชุมแสง นับเนื่องเป็นเวลาเกือบกว่า 100 ปี งานสมโภชนี้มีมหรสพหลายชนิดมาแสดงบริเวณงาน ระยะเวลาจัดงานชาวชุมแสงว่างงานจึงมีผู้มาเที่ยวงานนี้อย่างคับคั่ง แม้ผู้อยู่ต่างถิ่นก็ถือโอกาสมาเยื่ยมญาติ และมาเที่ยวงานประจำปีเจ้าพ่อ - เจ้าแม่ชุมแสงนี้ด้วย ถือได้ว่าชาวชุมแสงจะไปทำมาหากินในถิ่นอื่นใดแม้จะไกลสักเพียงใดก็เป็นลูกหลานเจ้าพ่อ - เจ้าแม่ชุมแสงด้วยกันทั้งนั้น ฉะนั้นเจ้าพ่อ - เจ้าแม่ชุมแสงจึงเป็นศูนย์รวมน้ำใจของชาวชุมแสงโดยแท้ โดยเฉพาะชาวชุมแสงจะมีองค์จำลองรูปเหมือนเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ชุมแสงแทบทุกบ้าน และวัตถุมงคลเหรียญเจ้าพ่อ - เจ้าแม่ชุมแสงติดตัวให้เป็นศิริมงคลทั่วหน้ากัน และเจ้าพ่อเจ้าแม่ก็นำพาแต่ความสงบสุข ความเจริญรุ่งเรือง ความปลอดภัยให้ชาวชุมแสงมาถึงปัจจุบันนี้




  
     ดังที่กล่าวไปข้างต้น บทความนี้ เขียนโดย นาย หยวย แซ่กัว เนื่องในโอกาสการจัดงานประจำปีเจ้าพ่อเจ้าแม่ชุมแสงปี 2524 โดยมีเนื้อหาดังนี้
ศาลเจ้าของชาวเรือ
เดิมศาลเจ้าพ่อชุมแสง เป็นศาลที่อยู่ปากคลองจระเข้เผือก ปลูกศาลยกพื้นแบบธรรมดาทั่วไป เป็นศาลที่ชาวเรือกราบไหว้เมื่อก่อน เมื่อก่อนที่เรือจะเข้าคลอง บริเวณใกล้เคียงที่เป็นตลาดในปัจจุบันเป็นป่าพง ถึงฤดูน้ำ น้ำก็ท่วมมิได้มีบ้านเรือนผู้คนอาศัย เป็นทางผ่านไปมาของชาวเรือ




      ที่พักจอดเรือของบรรดาพ่อค้าชาวเรือที่ติดต่อซื้อขายกับตำบล หนองบัว (อำเภอหนองบัวในปัจจบัน) บรรดาพ่อค้าวาณิชก็เคารพนับถือบนบานศาลอธิษฐานประการใดก็มักจะเป็นที่สมเจตน์จำนงทุกประการ จนเป็นที่เรื่องลือว่า เจ้าพ่อคลองจระเข้เผือกนี้ ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ถ้าได้กราบไหว้บอกกล่าวเสียก่อนแล้วการเดินทางก็จะปลอดภัย
เมื่อการค้าทางเรือเจริญขึ้นเพราะเป็นปากทางไปสู่ตำบลหนองบัว การติดต่อได้เฉพาะหน้าน้ำเท่านั้นเมื่อน้ำลดเรือเดินไม่ได้ การค้าจึงต้องอาศัยเกวียนลากมารอขนถ่ายที่ปากคลองนี้ จึงมีทั้งชาวเรือและชาวตำบลหนองบัวมาสร้างบ้านเรือนและยุ้งฉางกันขึ้น การติดต่อซื้อขายจึงดำเนินไปได้ตลอดปีเป็นที่ชุมทางของชาวเรือมาจอดรับสินค้า





    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วแต่ก่อนนี้ตลาดชุมแสงการเดินทาง ทางน้ำนั้นยังรุ่งเรืองเฟื่องฟูอยู่มาก เพราะตอนนั้นมีการเดินทางอยู่ 2 ทางคือ  1.ทางรถไฟ 2. ทางน้ำ ช่วงนั้นจะเป็นยุคทองของการเดินเรือก็ว่าได้และที่ตลาดชุมแสงจะมีทั้งบ้านเรือนแพอยู่หลายหลัง...และเรือโยงลากจูงสินค้าผ่านมาประจำ...ครั้งนั้นคนเก่าแก่เล่าว่าได้มีท่อนซุงท่อนหนึ่งได้ลอยมาติดที่อยู่ที่ปากคลองจระเข้เผือก...แล้วไม่ลอยไปไหนอีกเลยติดอยู่ตรงนั้นนั่นเองและก็ได้มีผู้ชายไปเข้าฝันคนในตลาดชุมแสงว่าให้นำท่อนซุงนั้นมาแกะสลักเป็นรูปเจ้าพ่อ..และได้ตั้งศาลเล็กๆให้ประทับอยู่ตรงปากคลองจระเข้เผือกนั่นเอง เราเรียกท่านว่าเจ้าพ่อคลองจระเข้เผือกเป็นที่เคารพของคนชุมแสง




         เจ้าพ่อฯก็ได้เข้าฝันอีกเช่นเคยว่าเจ้าพ่อได้ไปพบรักกับเจ้าแม่เกยไชย..(ตำบลหนึ่งในอ.ชุมแสงค่ะ) ชาวชุมแสงก็ได้ทำการจัดขบวนยกขันหมากไปสู่ขอเจ้าแม่เกยไชย..ตามความประสงค์ของเจ้าพ่อฯและได้อัญเชิญเจ้าแม่เกยไชยมาอยู่ที่ ตลาดชุมแสงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จากนั้นชาวชุมแสงก็ได้ขนานนามว่า "เจ้าพ่อเจ้าแม่ชุมแสง" สำหรับอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารนั้นที่ชาวชุมแสงประจักษ์ดีและเคารพเลื่อมใสนับถือมากๆเห็นจะเป็นเรื่องไฟไหม้...ครั้งหนึ่งที่ได้เกริ่นตั้งแต่แรกแล้วเรื่องความเฟื่องฟูทางการเดินเรือที่ชุมแสงจะมีแพที่เป็นปั๊มน้ำมันด้วยชื่อว่า"สุนทรภัณฑ์" คืนนั้นไฟได้เกิดไหม้แพปั๊มน้ำมันนั้นขณะที่ทุกคนตกใจและชลมุลวุ่นวายกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นมีคนเห็นว่ามี คนแก่ชาวจีนชาย-หญิงใส่ชุดขาวช่วยกันผลักดันแพที่ไฟไหม้อยู่นั้นออกไปให้อยู่กลางแม่น้ำ ทำให้คืนนั้นไฟไม่ลุกลามไหม้แพชาวบ้านอื่นๆและยังห้องแถวตรงบริเวณริมน้ำและในตลาดอีกที่เป็นบ้านห้องแถวไม้ทั้งหมด...และหลังจากประมาณปี ๒๕๓๖ ไฟได้เกิดใหม้ทีชุมชนหลังโรงสี..อยู่หลังศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่นั้นเองได้เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่อีกครั้งแต่จะกิดอะไรขึ้น...(ต่อไปหลังจากนี้จขบ.ขอติดไว้ก่อนนะคะ...ขอข้อมูลแน่นกว่านี้อีกสักหน่อยนะคะ) จะสังเกตเห็นว่าชาวอ.ชุมแสงบ้านเรือนยังเป็นห้องแถวไม้อยู่มาก..ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงเลยอายุเป็น 100 กว่าปีแล้วเพราะชาวชุมแสงเชื่อว่าที่อยู่เย็นเป็นสุขและไม่มีเรื่องไฟไหม้เกิดขึ้นอีกเลยก็เพราะบารมีเจ้าพ่อเจ้าแม่ชุมแสงปกปักรักษา และยังเรื่องทำมาค้าขายด้วยนะคะ เวลาจัดงานฉลองให้เจ้าพ่อเจ้าแม่ฯลูกหลานชาวชุมแสงจะเต็มบ้านเต็มตลาดเลยค่ะ.... จะขอข้ามมาเล่าเรื่องที่เกิดไม่นานมานี่เองประมาณปีที่แล้วที่จ.นครสวรรค์ ที่ชุมชนตรอกโรงลิเก ที่ได้เกิดไฟไหม้ขึ้น และมีบ้านหลังหนึ่งมีรูปเจ้าพ่อเจ้าแม่ชุมแสงไว้บูชาปรากฎว่าไฟไม่สามารถทำอะไรรูปเจ้าพ่อเจ้าแม่ได้เลย








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น