วันพฤหัสบดีที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2556

งานแห่ เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ชุมแสง


งานแห่ เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ชุมแสง





             เทศกาลประจำปีของชาวชุมแสง ที่จัดกิจกรรมขึ้นมาเพื่อสืบสานเรื่องราว วัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิตผ่านรูปแบบของงาน การแสดงต่างๆ และอาหารในอดีตและปัจจุบัน ชมบรรยากาศเมืองเก่าที่คงความสวยงามผสมผสานความเป็นไทย-จีนเข้าด้วยกัน โดยมี เจ้าพ่อเจ้าแม่ชุมแสงเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในอำเภอในแต่ละปีชาวชุมแสงจะจัดงานสมโภชเจ้าพ่อ - เจ้าแม่ชุมแสง เป็นการจัดงานประจำปีที่ใหญ่ยิ่งของชาวชุมแสง นับเนื่องเป็นเวลาเกือบกว่า 100 ปี งานสมโภชนี้มีมหรสพหลายชนิดมาแสดงบริเวณงาน ระยะเวลาจัดงานชาวชุมแสงว่างงานจึงมีผู้มาเที่ยวงานนี้อย่างคับคั่ง แม้ผู้อยู่ต่างถิ่นก็ถือโอกาสมาเยื่ยมญาติ และมาเที่ยวงานประจำปีเจ้าพ่อ - เจ้าแม่ชุมแสงนี้ด้วย 





                 เจ้าพ่อ - เจ้าแม่ชุมแสงจึงเป็นศูนย์รวมน้ำใจของชาวชุมแสงโดยแท้ โดยเฉพาะชาวชุมแสงจะมีองค์จำลองรูปเหมือนเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ชุมแสงแทบทุกบ้าน และวัตถุมงคลเหรียญเจ้าพ่อ - เจ้าแม่ชุมแสงติดตัวให้เป็นศิริมงคลทั่วหน้ากันในแต่ละปีชาวชุมแสงจะจัดงานสมโภชเจ้าพ่อ - เจ้าแม่ชุมแสง เป็นการจัดงานประจำปีที่ใหญ่ยิ่งของชาวชุมแสง นับเนื่องเป็นเวลาเกือบกว่า 100 ปี งานสมโภชนี้มีมหรสพหลายชนิดมาแสดงบริเวณงาน 





               หน้าเพื่อปกปิดหน้าตาและทำให้ดูน่า เกรงขามของ เอ็งกอมีการเขียนลวดลายเฉพาะคนเหมือนการสวม หน้ากากทั้ง108คนเหมือนกับการสวมหัวโขนของคน ไทยในการแสดงไม่ว่าขบวนแห่เอ็งกอจะผ่านไปทาง ไหนจะสร้างความตื่นเต้นและความประทับใจในการ แสดงนี้ไปทั่วอันเกิดจากความเร้าใจจากเสียงตีไม้ คู่ของขบวน ผู้แสดงที่วิ่ง ผ่าน ไปอย่างรวดเร็ว ส่วน "พ๊ะบู๊" เป็นการแสดงการต่อสู้ด้วยอาวุธจีนโบราณ มักจะเป็นขบวนคู่แฝดของเอ็งกอในการแห่เจ้า ขบวนเอ็งกอ-พ๊ะบู๊ของนครสวรรค์ริเริ่มเล่นโดยนาย คอซัวแซ่



การแสดง มังกร 9 ไม้



เอ็งกอ - สิงโต ชุมแสง


เอ็งกอ - สิงโต ชุมแสง


เอ็งกอ


              ตำนาน "ผู้ยิ่งใหญ่แห่งเขาเหลียงซาน" ใช้เค้าโครงจากวรรณคดีจีนเรื่อง"ซ้องกั๋ง" ซึ่งเป็นวรรณคดีร้อยแก้วมีลักษณะเป็นการ เล่าได้เรียบเรียงขึ้นเป็นเรื่องราวยืดยาวมี รสมีชาติยิ่งนักแต่ซือไน่อานเขียนไว้เพียง เจ็ดสิบบทมา"หลังกว้านจง"ลูกศิษย์ของซือ ไน่อานจึเรียงเขียนต่อจนจบสมบูรณ์หลัง กว้านจงคือผู้รจนานิยายเรื่องสามก๊กอันลือ ชื่อนั่นเองซ้องกั๋งเรื่องนี้จึงถือว่าเป็นฝีมือ ครูเป็นแบบอย่างของ สามก๊กอีกทีหนึ่ง
 




                      การละเล่นเอ็งกอ เป็นตอนที่ขบวนนักรบ 108 คน ที่ต่างมีวิชาความสามารถเก่งกาจกันคนละอย่าง สองอย่าง ทั้งการต่อสู้ด้วยมือเปล่า ไม้พลอง มีด การดำน้ำ การเดินป่าทางไกล การรักษาโรค ฯลฯ แต่งหน้าอำพลางตนเป็นนักแสดงขี่ม้าเข้าเมือง เพื่อไปช่วยซ้องกั๋งหัวหน้าของพวกตนการเขียน หน้าเพื่อปกปิดหน้าตาและทำให้ดูน่า เกรงขามของ เอ็งกอมีการเขียนลวดลายเฉพาะคนเหมือนการสวม หน้ากากทั้ง108คนเหมือนกับการสวมหัวโขนของคน ไทยในการแสดงไม่ว่าขบวนแห่เอ็งกอจะผ่านไปทาง ไหนจะสร้างความตื่นเต้นและความประทับใจในการ แสดงนี้ไปทั่วอันเกิดจากความเร้าใจจากเสียงตีไม้ คู่ของขบวน ผู้แสดงที่วิ่ง ผ่าน ไปอย่างรวดเร็ว ส่วน "พ๊ะบู๊" เป็นการแสดงการต่อสู้ด้วยอาวุธจีนโบราณ มักจะเป็นขบวนคู่แฝดของเอ็งกอในการแห่เจ้า ขบวนเอ็งกอ-พ๊ะบู๊ของนครสวรรค์ริเริ่มเล่นโดยนาย คอซัวแซ่เตียเมื่อพ.ศ.2490และได้รับความนิยม เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน








สิงโต




            การแสดงในปีนี้จัดขึ้นบริเวณลานด้านหน้าของศาลเจ้าคลองลาน ที่พี่น้องชาวพ่อค้าและประชาชนในตลาดคลองลานและชาวอำเภอใกล้เคียงร่วมกันสร้างขึ้นมาเพื่อให้เป็นที่สถิตของเจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน ผู้ปกปักษ์รักษาและอำนวยอวยพรให้ชาวคลองลานทุกคนอยู่อย่างสงบสุขการแสดงเชิดสิงโตเริ่มขึ้นในเวลาประมาณสองทุ่มเศษ ในปีนี้มีทั้งการสิงโตกวางเจาและสิงโตกวางตุ้ง ซึ่งได้รับความสนใจจากพี่น้องประชาชนเป็นจำนวนมากสถานที่ในการจัดแสดงปีนี้เป็นลานด้านหน้าศาลเจ้าซึ่งสะดวกโอ่โถง โดยเป็นการจัดแสดงเพื่อถวายแก่เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลานเพื่อถวายการศักการะด้วยการแสดงที่เป็นศิริมงคล ไม่ว่าจะเป็น สิงโต หรือมังกร ซึ่งเป็นสัตว์ศิริมงคลตามตำนานบริเวณด้านตรงข้ามของศาลเจ้า ยังได้มีการจัด "โรงงิ้ว" เพื่อทำการแสดงเพื่อถวายแก่เจ้าพ่อเจ้าแม่อีกด้วย




                    การแสดงของงิ้วในปีนี้ค่อนข้างได้รับการตอบรับจากพี่น้องเป็นอย่างดี ถึงแม้ว่าในบางท้องเรื่องจะมีการแสดงและการร้องเป็นภาษาจีน แต่พี่ก็ได้มารับชมเพื่อชื่นชมการแสดงที่ถือว่าเป็นศิลปะชั้นสูงที่สวยงามเป็นอย่างยิ่งหลังจากการแสดงในแต่ละชุดเสร็จสิ้นลง พี่น้องที่เข้ามารับชมการแสดงก็มีโอกาสสัมผัสกับสิงโตและผู้แสดงอย่างใกล้ชิด ซึ่งเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้ทั้งกับผู้แสดงรวมถึงเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้มีส่วนร่วมในประเพณีที่ยิ่งใหญ่ของชาวคลองลานได้อย่างเต็มที่สิ่งที่สำคัญซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของงานประเพณีในครั้งนี้ก็คือ การถวายความเคารพสักการะศาลเจ้าคลองลานของสิงโตและมังกร ซึ่งเป็นสัตว์ที่ถือว่าเป็นเทพแห่งตำนานจีนโอกาสอันดีนี้มังกรทองและสิงโต จะเข้าทำการสักการะองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่คลองลาน เพื่อที่จะเสริมสร้างความเป็นศิริมงคลให้กับพี่น้องประชาชนทุก ๆ คนที่เสื่อมใสและศรัทธาต่อองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่




ประวัติ เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ชุมแสง

  

ประวัติ เจ้าพ่อ-เจ้าแม่ ชุมแสง






               ตำนานเจ้าพ่อคลองจระเข้เผือก ยังเล่าขานสืบต่อไปว่า "เจ้าพ่อได้เกิดมีความรักกับเจ้าแม่เกยไชย (เป็นตำบลหนึ่งในอำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์) เจ้าพ่อประทับทรงให้ชาวบ้านชุมแสง ไปสู่ขอเจ้าแม่เกยไชย ให้ได้แต่งงานกับเจ้าแม่เกยไชย โดยเจ้าพ่อได้ยกขันหมากทางเรือไปสู่ขอและแต่งงานกับเจ้าแม่เกยไชย และเจ้าพ่อได้รับเจ้าแม่เกยไชยเป็นเจ้าแม่ชุมแสง และชาวบ้านก็อัญเชิญเจ้าแม่เกยไชยกลับมาประทับอยู่ที่ชุมแสงกับเจ้าพ่อ และได้แกะสลักไม้เป็นองค์เจ้าแม่ขึ้นมาใหม่ คู่กับองค์เจ้าพ่อ ศาลเจ้าพ่อคลองจระเข้เผือกจึงเปลี่ยนมาเรียกขานว่า "ศาลเจ้าพ่อ - เจ้าแม่ชุมแสง" มาจนถึงทุกวันนี้
               
ศาลเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ชุมแสง ได้มีการปรับปรุงใหม่หลายครั้งด้วยแรงศรัทธาของชาวตลาดชุมแสง ให้ศาลเป็นอาคารถาวรมีความสวยงามเป็นที่เชิดชูและเป็นศรีสง่าแก่ชาวชุมแสง ศาลเจ้าพ่อ - เจ้าแม่ชุมแสงจึงบ่งบอกความสมัครสมานสามัคคี ร่วมแรงร่วมใจกันบูรณะศาลแห่งนี้อยู่ตลอดเวลา





             สำหรับอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาร นั้นที่ชาวชุมแสงประจักษ์ดีและเคารพเลื่อมใสนับถือมากๆเห็นจะเป็นเรื่อง ไฟไหม้...ครั้งหนึ่งที่ได้เกริ่นตั้งแต่แรกแล้วเรื่องความเฟื่องฟูทางการเดินเรือที่ชุมแสงจะมีแพที่เป็นปั๊มน้ำมันด้วยชื่อว่า"สุนทรภัณฑ์" คืนนั้นไฟได้เกิดไหม้แพปั๊มน้ำมันนั้นขณะที่ทุกคนตกใจและชลมุลวุ่นวายกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นมีคนเห็นว่ามี คนแก่ชาวจีนชาย-หญิงใส่ชุดขาว(เชื่อกันว่าเป็นเจ้าพ่อเจ้าแม่ชุมแสง)ช่วยกันผลักดันแพที่ไฟไหม้อยู่นั้นออกไปให้อยู่กลางแม่น้ำ และใช้มือจับไฟที่ไหม้จนไฟนั้นดับลง ทำให้คืนนั้นไฟไม่ลุกลามไหม้แพชาวบ้านอื่นๆ หลังจากไฟดับลงชาย-หญิงแก่ก็ได้หายไปอย่างที่ไม่มีใครรู้ว่าเป็นใครมาจากไหน ชาวบ้านจึงเชื่อกันว่าเป็นองค์เจ้าพ่อเจ้าแม่ มาช่วยดับไฟให้ พอรุ่งขึ้นชาวบ้านจึงได้นำเครื่องเซ่นไหว้ไปถวายเจ้าพ่อเจ้าแม่อย่างมากมาย ยังเล่าอีกต่อว่า เจ้าแม่ชุมแสงนั้น เดิมทีเป็นเจ้าแม่ทางคนไทย เจ้าแม่เกยไชยก่อนจะมาแต่งงานอยู่กับเจ้าพ่อชุมแสงนั้นเป็นเจ้าแม่คนไทยมาก่อน ทุกๆวันชาวบ้านจะนำของเซ่นไหว้บ้าง หรือที่นำมาถวายแก้บนบ้าง ทุกๆวัน ทำให้เจ้าแม่นั้นไม่ค่อยชอบเรื่องการรับของเซ่นไหว้ แบบทางคนจีนเท่าไร แต่เจ้าแม่ชุมแสงก็ไม่ได้รับผลบุญจากการทำบุญเลย เจ้าแม่ชุมแสงจึงได้ประทับทรงบอกให้ชาวบ้าน และคณะกรรมการจัดงานเจ้าพ่อเจ้าแม่ชุมแสง ช่วยทำบุญอุทิศส่วนกุศลถวายให้เจ้าแม่ชุมแสงบ้าง ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาทางคณะกรรมการจัดงานฯ จะร่วมกับชาวชุมแสง จัดงานทำบุญใหญ่ๆ ถวายให้เจ้าพ่อเจ้าแม่ชุมแสง 2 ครั้ง คือ ในวันเกิดเจ้าพ่อเจ้าแม่ ประมาณหลังตรุษจีน 15 วัน  และงานวันสงกรานต์ ประมาณวันที่ 14 เมษายน ของทุกปีโดยจะมีการนิมนต์พระสงฆ์มาทำบุญที่ศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่ชุมแสง และด้วยความสามัคคีพร้อมเพรียงกันของชาวชุมแสงเป็นสำคัญ จึงทำให้ชุมแสงยังคงเป็นตลาดเก่าแก่ของภาคเหนือมาจนถึงทุกวันนี้




       ในแต่ละปีชาวชุมแสงจะจัดงานสมโภชเจ้าพ่อ - เจ้าแม่ชุมแสง เป็นการจัดงานประจำปีที่ใหญ่ยิ่งของชาวชุมแสง นับเนื่องเป็นเวลาเกือบกว่า 100 ปี งานสมโภชนี้มีมหรสพหลายชนิดมาแสดงบริเวณงาน ระยะเวลาจัดงานชาวชุมแสงว่างงานจึงมีผู้มาเที่ยวงานนี้อย่างคับคั่ง แม้ผู้อยู่ต่างถิ่นก็ถือโอกาสมาเยื่ยมญาติ และมาเที่ยวงานประจำปีเจ้าพ่อ - เจ้าแม่ชุมแสงนี้ด้วย ถือได้ว่าชาวชุมแสงจะไปทำมาหากินในถิ่นอื่นใดแม้จะไกลสักเพียงใดก็เป็นลูกหลานเจ้าพ่อ - เจ้าแม่ชุมแสงด้วยกันทั้งนั้น ฉะนั้นเจ้าพ่อ - เจ้าแม่ชุมแสงจึงเป็นศูนย์รวมน้ำใจของชาวชุมแสงโดยแท้ โดยเฉพาะชาวชุมแสงจะมีองค์จำลองรูปเหมือนเจ้าพ่อ-เจ้าแม่ชุมแสงแทบทุกบ้าน และวัตถุมงคลเหรียญเจ้าพ่อ - เจ้าแม่ชุมแสงติดตัวให้เป็นศิริมงคลทั่วหน้ากัน และเจ้าพ่อเจ้าแม่ก็นำพาแต่ความสงบสุข ความเจริญรุ่งเรือง ความปลอดภัยให้ชาวชุมแสงมาถึงปัจจุบันนี้




  
     ดังที่กล่าวไปข้างต้น บทความนี้ เขียนโดย นาย หยวย แซ่กัว เนื่องในโอกาสการจัดงานประจำปีเจ้าพ่อเจ้าแม่ชุมแสงปี 2524 โดยมีเนื้อหาดังนี้
ศาลเจ้าของชาวเรือ
เดิมศาลเจ้าพ่อชุมแสง เป็นศาลที่อยู่ปากคลองจระเข้เผือก ปลูกศาลยกพื้นแบบธรรมดาทั่วไป เป็นศาลที่ชาวเรือกราบไหว้เมื่อก่อน เมื่อก่อนที่เรือจะเข้าคลอง บริเวณใกล้เคียงที่เป็นตลาดในปัจจุบันเป็นป่าพง ถึงฤดูน้ำ น้ำก็ท่วมมิได้มีบ้านเรือนผู้คนอาศัย เป็นทางผ่านไปมาของชาวเรือ




      ที่พักจอดเรือของบรรดาพ่อค้าชาวเรือที่ติดต่อซื้อขายกับตำบล หนองบัว (อำเภอหนองบัวในปัจจบัน) บรรดาพ่อค้าวาณิชก็เคารพนับถือบนบานศาลอธิษฐานประการใดก็มักจะเป็นที่สมเจตน์จำนงทุกประการ จนเป็นที่เรื่องลือว่า เจ้าพ่อคลองจระเข้เผือกนี้ ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก ถ้าได้กราบไหว้บอกกล่าวเสียก่อนแล้วการเดินทางก็จะปลอดภัย
เมื่อการค้าทางเรือเจริญขึ้นเพราะเป็นปากทางไปสู่ตำบลหนองบัว การติดต่อได้เฉพาะหน้าน้ำเท่านั้นเมื่อน้ำลดเรือเดินไม่ได้ การค้าจึงต้องอาศัยเกวียนลากมารอขนถ่ายที่ปากคลองนี้ จึงมีทั้งชาวเรือและชาวตำบลหนองบัวมาสร้างบ้านเรือนและยุ้งฉางกันขึ้น การติดต่อซื้อขายจึงดำเนินไปได้ตลอดปีเป็นที่ชุมทางของชาวเรือมาจอดรับสินค้า





    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วแต่ก่อนนี้ตลาดชุมแสงการเดินทาง ทางน้ำนั้นยังรุ่งเรืองเฟื่องฟูอยู่มาก เพราะตอนนั้นมีการเดินทางอยู่ 2 ทางคือ  1.ทางรถไฟ 2. ทางน้ำ ช่วงนั้นจะเป็นยุคทองของการเดินเรือก็ว่าได้และที่ตลาดชุมแสงจะมีทั้งบ้านเรือนแพอยู่หลายหลัง...และเรือโยงลากจูงสินค้าผ่านมาประจำ...ครั้งนั้นคนเก่าแก่เล่าว่าได้มีท่อนซุงท่อนหนึ่งได้ลอยมาติดที่อยู่ที่ปากคลองจระเข้เผือก...แล้วไม่ลอยไปไหนอีกเลยติดอยู่ตรงนั้นนั่นเองและก็ได้มีผู้ชายไปเข้าฝันคนในตลาดชุมแสงว่าให้นำท่อนซุงนั้นมาแกะสลักเป็นรูปเจ้าพ่อ..และได้ตั้งศาลเล็กๆให้ประทับอยู่ตรงปากคลองจระเข้เผือกนั่นเอง เราเรียกท่านว่าเจ้าพ่อคลองจระเข้เผือกเป็นที่เคารพของคนชุมแสง




         เจ้าพ่อฯก็ได้เข้าฝันอีกเช่นเคยว่าเจ้าพ่อได้ไปพบรักกับเจ้าแม่เกยไชย..(ตำบลหนึ่งในอ.ชุมแสงค่ะ) ชาวชุมแสงก็ได้ทำการจัดขบวนยกขันหมากไปสู่ขอเจ้าแม่เกยไชย..ตามความประสงค์ของเจ้าพ่อฯและได้อัญเชิญเจ้าแม่เกยไชยมาอยู่ที่ ตลาดชุมแสงตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จากนั้นชาวชุมแสงก็ได้ขนานนามว่า "เจ้าพ่อเจ้าแม่ชุมแสง" สำหรับอิทธิฤทธิ์ปาฏิหารนั้นที่ชาวชุมแสงประจักษ์ดีและเคารพเลื่อมใสนับถือมากๆเห็นจะเป็นเรื่องไฟไหม้...ครั้งหนึ่งที่ได้เกริ่นตั้งแต่แรกแล้วเรื่องความเฟื่องฟูทางการเดินเรือที่ชุมแสงจะมีแพที่เป็นปั๊มน้ำมันด้วยชื่อว่า"สุนทรภัณฑ์" คืนนั้นไฟได้เกิดไหม้แพปั๊มน้ำมันนั้นขณะที่ทุกคนตกใจและชลมุลวุ่นวายกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นมีคนเห็นว่ามี คนแก่ชาวจีนชาย-หญิงใส่ชุดขาวช่วยกันผลักดันแพที่ไฟไหม้อยู่นั้นออกไปให้อยู่กลางแม่น้ำ ทำให้คืนนั้นไฟไม่ลุกลามไหม้แพชาวบ้านอื่นๆและยังห้องแถวตรงบริเวณริมน้ำและในตลาดอีกที่เป็นบ้านห้องแถวไม้ทั้งหมด...และหลังจากประมาณปี ๒๕๓๖ ไฟได้เกิดใหม้ทีชุมชนหลังโรงสี..อยู่หลังศาลเจ้าพ่อเจ้าแม่นั้นเองได้เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่อีกครั้งแต่จะกิดอะไรขึ้น...(ต่อไปหลังจากนี้จขบ.ขอติดไว้ก่อนนะคะ...ขอข้อมูลแน่นกว่านี้อีกสักหน่อยนะคะ) จะสังเกตเห็นว่าชาวอ.ชุมแสงบ้านเรือนยังเป็นห้องแถวไม้อยู่มาก..ไม่ค่อยเปลี่ยนแปลงเลยอายุเป็น 100 กว่าปีแล้วเพราะชาวชุมแสงเชื่อว่าที่อยู่เย็นเป็นสุขและไม่มีเรื่องไฟไหม้เกิดขึ้นอีกเลยก็เพราะบารมีเจ้าพ่อเจ้าแม่ชุมแสงปกปักรักษา และยังเรื่องทำมาค้าขายด้วยนะคะ เวลาจัดงานฉลองให้เจ้าพ่อเจ้าแม่ฯลูกหลานชาวชุมแสงจะเต็มบ้านเต็มตลาดเลยค่ะ.... จะขอข้ามมาเล่าเรื่องที่เกิดไม่นานมานี่เองประมาณปีที่แล้วที่จ.นครสวรรค์ ที่ชุมชนตรอกโรงลิเก ที่ได้เกิดไฟไหม้ขึ้น และมีบ้านหลังหนึ่งมีรูปเจ้าพ่อเจ้าแม่ชุมแสงไว้บูชาปรากฎว่าไฟไม่สามารถทำอะไรรูปเจ้าพ่อเจ้าแม่ได้เลย